วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  17  มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

สรุปองค์ความรู้   
                                                                                               
                ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่น  ชื่อกิจกรรม  ไร่สตอว์เบอรี่  เพื่อให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นและสนุกสนาน  เป็นการตื่นตัวก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของบทเรียน  สรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง  ดังนี้

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
ช่วยเหลือตนเองได้  ทำอะไรได้ด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องให้คนอื่นช่วยเหลือ  จุดประสงค์หลักเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด ทั้งการกินอยู่   การเข้าห้องน้ำ  การแต่งตัว  กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน ฯลฯ

 การสร้างความอิสระ                  
                เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง  อยากทำงานตามความสามารถ  เด็กเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบคนรอบข้างจากพ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครู  เพื่อน  และคนที่โตกว่า 

 ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 
                เมื่อเด็กทำได้ด้วยตนเองจะเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่น  เด็กจะภาคภูมิใจและอยากทำอีก  เกิดการเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

 หัดให้เด็กทำเอง 
                ครูหรือผู้ปกครองไม่ควรช่วยเหลือเกินความจำเป็น  เมื่อเด็กเข้ามาขอความช่วยเหลือครูควรทำแค่ที่เด็กต้องการ  อย่าทำเกินหรือนอกเหนือจากนั้น  อย่าพูด  หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้

 จะช่วยเมื่อไหร่ 
                เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร  หงุดหงิด  เบื่อหรือไม่ค่อยสบาย  หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว  เด็กจะรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ  เด็กมักต้องการความช่วยเหลือในช่วงกิจกรรม

 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  ( อายุ 2 – 6 ปี ) 
                เป็นทักษะการช่วยเหลือตนเองที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับขั้นของช่วงอายุ  ทั้งเรื่องของการแต่งตัว  การกินอาหาร  การอาบน้ำ/เข้าห้องน้ำ  และในเรื่องทั่วไป  เป็นต้น  ทั้งนี้ในช่วงแรกๆเด็กอาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง  แต่เมื่อเด็กได้ทำเองบ่อยๆเด็กจะสามารถทำได้ด้วยตนเอง

 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง  
                แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ  เรียงลำดับตามขั้นตอน  ตัวอย่างเช่น 
                                   การเข้าส้วม  
-  เข้าไปในห้องส้วม                             -  กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-  ดึงกางเกงลงมา                                  -  ดึงกางเกงขึ้น
-  ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม                        -  ล้างมือ
-  ปัสสาวะหรืออุจจาระ                        -  เช็ดมือ
-  ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น                     -  เดินออกจากห้องส้วม
-  ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า

                ถ้าเริ่มจากขั้นแรก  เด็กจะเรียนรู้ทีละขั้น  ( ยากกว่า )  ถ้าเริ่มจากข้างหลังก่อน  อาจจะไม่เรียนรู้ไปตามขั้นตอน  เด็กจะรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จที่เด็กทำได้ 

  สรุป  
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

 กิจกรรมในวันนี้

                แจกกระดาษ  ให้นักศึกษานำสีเทียนมาจุดเป็นรูปวงกลมขนาดเล็กใหญ่ตามอิสระ  เมื่อจุดวงกลมแรกแล้วนำสีอื่นมาวงรอบต่อกี่ชั้นก็ได้ตามอิสระของเรา  โดยเปรียบวงกลมเสมือนหัวใจของเรา  จากนั้นตัดกระดาษวงกลมตามขนาดที่วาด 

วงกลมที่วาด  บ่งบอกนิสัยของคนว่าเป็นอย่างไร  มีความมั่นใจมากน้อยเพียงไร  โดยคราวๆดังนี้
  • วงกลมวงเล็ก  เป็นคนที่คิดเล็กคิดน้อย
  • วงกลมใหญ่  เป็นคนที่ใจกว้างต่อเพื่อนฝูง
  • การระบายสีเบาบาง/ไม่กดสี  เป็นคนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง
  • การระบายสีข้ม/กดสี  เป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเอง  มีความหนักแน่น
  • การระบายสีที่มีขนาดเท่ากัน  เป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย
  • การระบายสีไม่เป็นวงกลมหรือมีลักษณะเส้นแตกต่างออกมา  เป็นคนคิดนอกกรอบ

                เส้นสุดท้ายของวงกลมจะบ่งบอกตัวตนที่แสดงออกมา  เช่น
  • สีแปรด/ร้อนแรง  เป็นคนแรงๆ
  • สีอ่อน  เป็นคนอ่อนโยน 
  • สีไม่ปะติดปะต่อกัน/สีตัดกัน  เป็นคนอารมณ์ขึ้นๆลงๆ

* ถ้ากล่าวผิดพลาดประการใด  ขออภัยไว้ ณ ที่นี้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • เรียนรู้วิธีการย่อยงานแล้วนำไปใช้กับเด็ก
  • ให้ความช่วยเหลือเด็กตามความจำเป็น  ไม่ทำเกินหรือทำให้เด็กทุกอย่าง
  • เมื่อเด็กขอความช่วยเหลือ  ควรทำแค่ที่เด็กขอไม่ทำเกินหรือนอกเหนือจากนั้น


การประเมิน

                ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน  จดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในเอกสารความรู้จากที่อาจารย์บอก  ร่วมทำกิจกรรมในคาบเรียนอย่างตั้งใจ
                เพื่อน  มีความตั้งใจในการเรียนและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม  มีความตั้งใจในการทำงานหรือกิจกรรมในคาบเรียน

                อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอนทุกครั้ง  อาจารย์ตั้งใจสอนมีการอธิบายเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากในเอกสารความรู้  มีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10  มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
 

สรุปองค์ความรู้   
                                                                                               
                ก่อนเรียนอาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการสอบบรรจุของกทม.และสพฐ.  จากประสบการณ์ของรุ่นพี่ที่ได้ไปสอบมา  จากนั้นอาจารย์ยังมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่น  ชื่อกิจกรรม  เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า   แล้วเริ่มเข้าสู่บทเรียน

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
                ทักษะภาษา 

 การวัดความสามารถทางภาษา
                ครูควรเริ่มวัดจากการที่เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด  การตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วย  มีการถามหาสิ่งต่างๆ บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและใช้คำศัพท์ของตนเองกับเด็กคนอื่นๆ

 การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
                การพูดตกหล่น  พูดตกคำตกประโยค  การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง  การพูดติดอ่าง  พฤติกรรมการพูดเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กทุกคนในชั้นเรียนถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะวัยเด็กยังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่

 การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
                ครูและผู้ใหญ่  ผู้ปกครองไม่ควรสนใจการพูดซ้ำ  การออกเสียงไม่ชัดของเด็ก  ควรทำให้เป็นเรื่องปกติ ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ ”  “ คิดก่อนพูด ”  และอย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด  ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 

 ทักษะพื้นฐานของภาษา
                เด็กพิเศษจะเน้น 2 อย่าง  คือ  ทักษะทางการรับรู้ภาษาและการแสดงออกทางภาษา การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

 พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
                การตอบสนอง  ไม่จำเป็นว่าต้องกระทำเลยหรือทำตามคำสั่ง คำพูด  เพียงแค่หันหน้า  หลบหน้า  พยักหน้า  ส่ายหน้า  ก็ถือว่าตอบสนองแล้ว 

 ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
                ให้เวลาเด็กได้พูด  คอยให้เด็กตอบอาจจะชี้แนะบ้างเมื่อจำเป็น  กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง  ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า  เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด

 การสอนตามเหตุการณ์  ( Incidental Teaching )

  

1.  เข้าไปถาม ทำอะไรอยู่คะ
2.  หนูจะสวมผ้ากันเปื้อนใช่ไหมคะ
3.  หนูสวมได้ไหมลูก
4.  ให้เด็กพูดตาม  ผ้ากันเปื้อนๆ
5.  ครูจับมือ  สวมใส่ให้เด็ก

 ดู  VDO  ผลิบานผ่านมือครู : จังหวะกาย จังหวะชีวิต รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ 


                โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน  จึงจัดกิจกรรมการบูรณาการดนตรีสู่ห้องเรียน  การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยและเด็กพิเศษ  การนำดนตรีและการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย  เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและเรียนรู้  เช่น  การฟัง  สมาธิการจดจ่อ  ความคล่องตัว  ยืดหยุ่น  แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ  การทรงตัว  ภาษา  การเปล่งเสียง  ความเข้าใจเรื่องจังหวะของตนเองและผู้อื่น  จินตนาการและการเล่นเป็นกลุ่ม  เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ  ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริงและเชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะฟื้นฟูพัฒนาได้ตลอดชีวิต

 Post Test 

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไร

 กิจกรรมในวันนี้

                ให้นักศึกษาจับคู่  2  คน  สีเทียนคนละ  1  แท่ง  เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้ลากเส้นเป็นเส้นตรงอย่างอิสระ  จากนั้นระบายสีในช่องที่มีเส้นตัดกัน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กพิเศษกับเด็กปกติ
  • ไม่ขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • นำข้อปฏิบัติไปใช้กับเด็กพิเศษให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • รู้วิธีการสอนทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษในห้องเรียนรวม


การประเมิน

                ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยถูกระเบียบมหาวิทยาลัย  ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในเอกสารความรู้  มีส่วนร่วมและตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
                เพื่อน  ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม  มีการพูดคุยกันบ้างเนื่องจากในคาบนี้มีคนเรียนเยอะ  ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน

                อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน  อธิบายและยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น  ช่วงนี้อาจารย์เครียดๆก็อยากให้อาจารย์ยิ้มๆ ยิ้มสู้  เชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ปีหน้าสอนพวกเราอีกนะคะ


วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

สรุปองค์ความรู้                  
                                                                                
ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาเล่น  ชื่อกิจกรรม รถไฟเหาะแห่งชีวิต เป็นกิจกรรมที่ปลุกความตื่นตัวเพื่อพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาต่อไป

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม 
                สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข  การปรับที่ตัวเด็กอย่าไปปรับที่สภาพแวดล้อมเพราะมันจะไม่ได้ผล
 กิจกรรมการเล่น
ช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก และดึง  เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
 ยุทธศาสตร์การสอน
                เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร  เขาจะเรียนรู้จากการดูเพื่อน  เลียนแบบจากเพื่อน  ครูจึงต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ  ว่าเด็กแต่ละคนมีทักษะการเล่นแบบไหน  ครูจดบันทึก
เพื่อมาทำแผน IEP
 การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
                การจัดให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มเล็กๆ 2-4 คน  โดยแบ่งเป็นเด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน  เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ 
 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
                ครูควรอยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู  เวลาครูดูเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยู่  ห้ามหันหลังให้เด็กกลุ่มอื่นเด็ดขาด  ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป  นำวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น  แต่ไม่ควรแจกทีเดียวหมด  ควรแจกให้ทีละชิ้นเมื่อครูแจกชิ้นใหม่ให้เด็กจะรู้สึกตื่นเต้นและสามารถเล่นได้ต่อและนานขึ้น  ถ้าแจกให้เยอะทีเดียวเด็กจะไม่เห็นคุณค่าจะเลือกเล่นเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่งอย่างเดียว


                การแบ่งให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม  โดยเป็นเด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน  เริ่มแรกควรให้เด็กเล่นด้วยมือเปล่าก่อน  เมื่อเด็กเบื่อให้นำอุปกรณ์มาเพิ่ม  ถ้าเด็กมี 4 คน  ควรแจกอุปกรณ์การเล่น 2 ชิ้น  เพื่อให้เด็กแบ่งกันเล่นได้ลงตัว (*ถ้าแจก 1 ชิ้น เด็กจะแย่งกันเล่น  ถ้าแจก 3 ชิ้น เด็กอีก 1 คนจะรู้สึกว่าทำไมเขาถึงไม่ได้เล่น  ถ้าแจก 4 ชิ้น  เด็กจะต่างคนต่างเล่นไม่สนใจเพื่อน)
 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
                ครูห้องเรียนรวมครูต้องเป็นผู้ที่พูดเก่ง  ครูควรพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกันโดยการพูดนำของครู  ครูเป็นผู้บอกบทเด็กพิเศษจะพูดตาม ค่อยจำและปฏิบัติตามครู


                เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  ครูควรให้เด็กพิเศษเดินเข้าไปโดยถือของเล่นเข้าไปด้วย  โดยมีครูพานำเข้าไป  ครูพูดกับเด็กปกติที่กำลังเล่นอยู่ว่า เพื่อนมีของเล่นเยอะแยะเลย แล้วหยิบให้เด็กดู  จากนั้นเด็กๆทุกคนก็จะเล่นร่วมกันและแบ่งของเล่นกันอย่างสนุกสนาน
 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
                เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง  ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง  ห้ามเด็กพิเศษมีอภิสิทธิ์กว่าเด็กปกติต้องให้เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน  ครูอธิบายการเล่นสร้างกฎกติกาการเล่นให้เด็ก
 เพลง


 กิจกรรมในวันนี้
                ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน แจกกระดาษและสีเทียนคนละ 1 แท่ง  จากนั้นให้นักศึกษา 1 คน ลากเส้นอีก 1 คน  คอยจุดในวงกลมที่เพื่อนลาก  ตามจังหวะเพลงที่อาจารย์เปิดให้ฟัง



Post test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • ครูควรรู้วิธีการสอนที่ดีให้เหมาะสมกับห้องเรียนรวมของเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • นำวิธีการชักจูงให้เด็กพิเศษและเด็กปกติได้เล่นร่วมกัน
  • สร้างความน่าสนใจให้เด็กพิเศษเพื่อให้เด็กปกติยอมรับ
  • ให้เด็กพิเศษและเด็กปกติเล่น/อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันได้
  • การแบ่งปันสิ่งของ ของเล่นและเล่นร่วมกันของเด็กห้องเรียนรวม


การประเมิน

                ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย  จดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน  ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและร้องเพลงอย่างตั้งใจ
                เพื่อน  ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม  ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและร่วมใจกันร้องเพลง

                อาจารย์  จัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอนอย่างพร้อมเพรียง  มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น  แนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ร่วมกับเด็กพิเศษ