บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105
( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
สรุปองค์ความรู้
ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาเล่น ชื่อกิจกรรม “ รถไฟเหาะแห่งชีวิต ” เป็นกิจกรรมที่ปลุกความตื่นตัวเพื่อพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาต่อไป
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข การปรับที่ตัวเด็กอย่าไปปรับที่สภาพแวดล้อมเพราะมันจะไม่ได้ผล
กิจกรรมการเล่น
ช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก และดึง เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร เขาจะเรียนรู้จากการดูเพื่อน
เลียนแบบจากเพื่อน ครูจึงต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
ว่าเด็กแต่ละคนมีทักษะการเล่นแบบไหน ครูจดบันทึก
เพื่อมาทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
การจัดให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มเล็กๆ
2-4 คน
โดยแบ่งเป็นเด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน
“ ครู ” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
ครูควรอยู่ใกล้ๆ
เฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้
ถ้าเด็กหันมาหาครู เวลาครูดูเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยู่ ห้ามหันหลังให้เด็กกลุ่มอื่นเด็ดขาด ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป นำวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม
เพื่อยืดเวลาการเล่น แต่ไม่ควรแจกทีเดียวหมด ควรแจกให้ทีละชิ้นเมื่อครูแจกชิ้นใหม่ให้เด็กจะรู้สึกตื่นเต้นและสามารถเล่นได้ต่อและนานขึ้น
ถ้าแจกให้เยอะทีเดียวเด็กจะไม่เห็นคุณค่าจะเลือกเล่นเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่งอย่างเดียว
การแบ่งให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม โดยเป็นเด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ
1 คน
เริ่มแรกควรให้เด็กเล่นด้วยมือเปล่าก่อน
เมื่อเด็กเบื่อให้นำอุปกรณ์มาเพิ่ม
ถ้าเด็กมี 4 คน
ควรแจกอุปกรณ์การเล่น 2 ชิ้น เพื่อให้เด็กแบ่งกันเล่นได้ลงตัว (*ถ้าแจก
1 ชิ้น เด็กจะแย่งกันเล่น
ถ้าแจก 3 ชิ้น เด็กอีก 1 คนจะรู้สึกว่าทำไมเขาถึงไม่ได้เล่น ถ้าแจก 4 ชิ้น เด็กจะต่างคนต่างเล่นไม่สนใจเพื่อน)
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูห้องเรียนรวมครูต้องเป็นผู้ที่พูดเก่ง
ครูควรพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกันโดยการพูดนำของครู ครูเป็นผู้บอกบทเด็กพิเศษจะพูดตาม
ค่อยจำและปฏิบัติตามครู
เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
ครูควรให้เด็กพิเศษเดินเข้าไปโดยถือของเล่นเข้าไปด้วย โดยมีครูพานำเข้าไป ครูพูดกับเด็กปกติที่กำลังเล่นอยู่ว่า “ เพื่อนมีของเล่นเยอะแยะเลย
” แล้วหยิบให้เด็กดู
จากนั้นเด็กๆทุกคนก็จะเล่นร่วมกันและแบ่งของเล่นกันอย่างสนุกสนาน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง ห้ามเด็กพิเศษมีอภิสิทธิ์กว่าเด็กปกติต้องให้เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน ครูอธิบายการเล่นสร้างกฎกติกาการเล่นให้เด็ก
เพลง
กิจกรรมในวันนี้
ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน แจกกระดาษและสีเทียนคนละ 1 แท่ง จากนั้นให้นักศึกษา 1
คน ลากเส้นอีก 1 คน คอยจุดในวงกลมที่เพื่อนลาก ตามจังหวะเพลงที่อาจารย์เปิดให้ฟัง
Post test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ครูควรรู้วิธีการสอนที่ดีให้เหมาะสมกับห้องเรียนรวมของเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- นำวิธีการชักจูงให้เด็กพิเศษและเด็กปกติได้เล่นร่วมกัน
- สร้างความน่าสนใจให้เด็กพิเศษเพื่อให้เด็กปกติยอมรับ
- ให้เด็กพิเศษและเด็กปกติเล่น/อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันได้
- การแบ่งปันสิ่งของ ของเล่นและเล่นร่วมกันของเด็กห้องเรียนรวม
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย จดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและร้องเพลงอย่างตั้งใจ
เพื่อน : ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและร่วมใจกันร้องเพลง
อาจารย์ : จัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอนอย่างพร้อมเพรียง มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
แนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ร่วมกับเด็กพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น