บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105
( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
สรุปองค์ความรู้
ก่อนเรียนอาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการสอบบรรจุของกทม.และสพฐ. จากประสบการณ์ของรุ่นพี่ที่ได้ไปสอบมา จากนั้นอาจารย์ยังมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่น ชื่อกิจกรรม
“ เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า ” แล้วเริ่มเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
ครูควรเริ่มวัดจากการที่เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด การตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วย มีการถามหาสิ่งต่างๆ
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและใช้คำศัพท์ของตนเองกับเด็กคนอื่นๆ
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น พูดตกคำตกประโยค การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง การพูดติดอ่าง
พฤติกรรมการพูดเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กทุกคนในชั้นเรียนถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะวัยเด็กยังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ครูและผู้ใหญ่ ผู้ปกครองไม่ควรสนใจการพูดซ้ำ การออกเสียงไม่ชัดของเด็ก ควรทำให้เป็นเรื่องปกติ ห้ามบอกเด็กว่า “ พูดช้าๆ ” “ คิดก่อนพูด ” และอย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
ทักษะพื้นฐานของภาษา
เด็กพิเศษจะเน้น 2 อย่าง
คือ
ทักษะทางการรับรู้ภาษาและการแสดงออกทางภาษา การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
การตอบสนอง ไม่จำเป็นว่าต้องกระทำเลยหรือทำตามคำสั่ง
คำพูด เพียงแค่หันหน้า หลบหน้า
พยักหน้า ส่ายหน้า ก็ถือว่าตอบสนองแล้ว
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
ให้เวลาเด็กได้พูด คอยให้เด็กตอบอาจจะชี้แนะบ้างเมื่อจำเป็น กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
การสอนตามเหตุการณ์ ( Incidental Teaching )
1. เข้าไปถาม “ ทำอะไรอยู่คะ ”
2. หนูจะสวมผ้ากันเปื้อนใช่ไหมคะ
3. หนูสวมได้ไหมลูก
4. ให้เด็กพูดตาม “ ผ้ากันเปื้อนๆ”
5. ครูจับมือ สวมใส่ให้เด็ก
ดู VDO ผลิบานผ่านมือครู
: จังหวะกาย จังหวะชีวิต รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ
โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน
จึงจัดกิจกรรมการบูรณาการดนตรีสู่ห้องเรียน
การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยและเด็กพิเศษ
การนำดนตรีและการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย
เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและเรียนรู้ เช่น การฟัง สมาธิการจดจ่อ
ความคล่องตัว ยืดหยุ่น แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ การทรงตัว ภาษา การเปล่งเสียง ความเข้าใจเรื่องจังหวะของตนเองและผู้อื่น จินตนาการและการเล่นเป็นกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริงและเชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะฟื้นฟูพัฒนาได้ตลอดชีวิต
Post Test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไร
กิจกรรมในวันนี้
ให้นักศึกษาจับคู่ 2
คน สีเทียนคนละ 1 แท่ง
เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้ลากเส้นเป็นเส้นตรงอย่างอิสระ จากนั้นระบายสีในช่องที่มีเส้นตัดกัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กพิเศษกับเด็กปกติ
- ไม่ขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- นำข้อปฏิบัติไปใช้กับเด็กพิเศษให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
- รู้วิธีการสอนทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษในห้องเรียนรวม
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยถูกระเบียบมหาวิทยาลัย
ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในเอกสารความรู้ มีส่วนร่วมและตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อน : ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม มีการพูดคุยกันบ้างเนื่องจากในคาบนี้มีคนเรียนเยอะ ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา
มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน
อธิบายและยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น ช่วงนี้อาจารย์เครียดๆก็อยากให้อาจารย์ยิ้มๆ
ยิ้มสู้ เชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น
ปีหน้าสอนพวกเราอีกนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น