วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
 

หมายเหตุ    ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องด้วยไปโรพยาบาล  ตามงานจากที่เพื่อนบอกและศึกษาจากในเอกสารความรู้ที่อาจารย์ให้
สรุปองค์ความรู้                                                                                                   

           อาจารย์ให้วาดรูปดอกทานตะวัน  ผลงานของดิฉันมีดังนี้..


   บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม   
                ครูไม่ควรวินิจฉัย
       การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
        จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

                ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
        เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
        ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
        เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

  ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
        พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
        พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
        ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

  ครูทำอะไรบ้าง
        ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
        ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
         สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
         จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

  สังเกตอย่างมีระบบ
        ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
        ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
        ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

  การตรวจสอบ
        จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
         เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
         บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

  ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
        ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
        ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
        พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

  การบันทึกการสังเกต
       การนับอย่างง่ายๆ
      นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
      กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
      ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
         การบันทึกต่อเนื่อง
       ให้รายละเอียดได้มาก
        เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
       โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
         การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
         บันทึกลงบัตรเล็กๆ
         เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

  การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
       ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
        พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

  การตัดสินใจ
        ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
        พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       •      ปฏิบัติตนเป็นครูที่ดี  เหมาะสมกับการสอนในห้องเรียนรวม
             ปฏิบัติตนเป็นครูที่ดี  ในการสื่อสารและให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
               ดูแลเอาใจใส่เด็กด้วยความรัก  ปลูกฝังและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

การประเมิน
                ตนเอง  :  ไม่ได้เข้าเรียนในคาบนี้  แต่ก็พยายามขวนขวายตามงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำจากเพื่อนๆ
                เพื่อน  :  อธิบายงานที่อาจารย์สั่งให้ฟังอย่างเข้าใจ
                อาจารย์  :  โพสสื่อการสอนหรือเอกสารที่จะเรียนให้ดู  ทำให้หนูได้รับความรู้จากเอกสารที่อาจารย์โพสไว้ให้

 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
 

สรุปองค์ความรู้
 
                การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  รูปแบบการจัดการศึกษา  ดังนี้

  • การศึกษาปกติทั่วไป  ( Regular Education )

  • การศึกษาพิเศษ  ( Special Education )

  • การศึกษาแบบเรียนร่วม  ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )

  • การศึกษาแบบเรียนรวม  ( Inclusive Education )

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
                การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน โดยมีครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน         การศึกษาแบบเรียนร่วม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.  การเรียนร่วมบางเวลา ( Integraion )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
2.  การเรียนร่วมเต็มเวลา  ( Mainstreaming )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการการเรียนรู้และนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ เด็กกลุ่มนี้อยู่ในระดับน้อยเพราะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้เต็มวัน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
                การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับการศึกษา จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
                การจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยเริ่มเข้ามาเรียนตั้งแต่เปิดเทอมและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ เด็กเป็นผู้เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก มีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการอยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

  ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
     -  ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
     -  สามารถ สอนได้
     -  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
                
                  จากนั้นอาจารย์ให้ทบทวนร้องเพลงที่แจกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  และใบงานให้ตอบคำถามในห้องเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • นำแนวทางการสอนเด็กพิเศษมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

  • เด็กพิเศษสามารถเรียนรวมกับเด็กปกติได้ เราต้องจัดการสอนให้เหมาะกับเด็กพิเศษ

  • เด็กพิเศษสามารถสอนได้  เราควรสอนให้เด็กพิเศษใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเด็กปกติให้ดีที่สุด

  • นำความรู้ อธิบายให้เด็กปกติเข้าใจเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กปกติดูแลเด็กพิเศษ(เพื่อน)

การประเมิน
                ตนเอง  :  ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน  ขีดเส้นใต้เนื้อหาที่สำคัญและจดบันทึกความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากใบงาน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา
                เพื่อน  :  ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอน  ถึงในห้องเรียนจะมีเสียงดังบ้างแต่ก็เป็นห้องเรียนที่สนุกไม่เครียดทั้งอาจารย์และศิษย์
                อาจารย์  :  เตรียมความพร้อมในการสอน  เตรียมเนื้อหาให้นักศึกษาล่วงหน้า  มีการอธิบาย  ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น  

สัตว์โลกน่ารักสัตว์โลกน่ารักสัตว์โลกน่ารัก