บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105
( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
สรุปองค์ความรู้
ถ้าเปรียบมือที่เราวาดกับการบันทึกพฤติกรรมเด็ก ถ้าเราเห็นและบันทึกเลยขณะที่เด็กกำลังกระทำหรือที่เราเห็นเราจะจำรายละเอียดได้หมด
แต่ถ้าเราเห็นแล้วจำไว้และกลับมาบันทึกในตอนหลัง เราไม่สามารถบันทึกได้หมดเราจะจำได้แต่ส่วนสำคัญไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้หมด
* เด็กพิเศษเห็นปุ๊บ บันทึกปั๊บ
ไม่ควรจำเพราะจะจดจำได้ไม่หมด
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
มองเห็นเด็กทุกคนในภาพรวมเหมือนกัน อย่ามองแต่เจาะจงจุดบกพร่องเป็นจุดเด่น เป็นครูควรรู้จักเด็กทุกคนให้ดี รู้จักอุปนิสัยของเด็กที่สำคัญการเป็นครูควรจำชื่อจริง
– นามสกุล และชื่อเล่นของเด็กได้ครบทุกคน
การเพิ่มเติม
อบรมระยะสั้น หรือสัมมนา และสื่อต่างๆ
เพราะทุกวันนี้สื่อสำหรับเด็กพิเศษมีหลากหลายที่จะให้ความรู้ต่างๆ
เช่น ทางอินเทอร์เน็ต
การเข้าใจภาวะปกติ
ครูต้องเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก รู้จักเด็กแต่ละคน มองเด็กให้เป็น “เด็ก” ไม่ใช่มองเด็กต่างกัน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การที่ครูเข้าใจพัฒนาการของเด็กจะช่วยให้ครูมองเห็นความแตกต่างของเด็กได้ง่าย พยายามพูดในด้านที่ดีของเด็ก ครูต้องมีจริตในการคุยกับผู้ปกครอง
ความพร้อมของเด็ก
· วุฒิภาวะ : ต่างกันไม่เยอะเพียงแค่เล็กน้อย
· แรงจูงใจ : แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
·
โอกาส
: ต่างละคนมีโอกาสในการเรียนแตกต่างกัน ย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสในแต่ละคน
การสอนโดยบังเอิญ
เด็กเดินเข้ามาหาครูตอนที่เด็กว่าง เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากเท่านั้น เด็ก
หรือเรียกครูแล้วให้ครูเข้าไปหาครูสอน พูดคุยกัน
อาจให้ครูบอกคำตอบเด็กแล้วให้เด็กทวน
อุปกรณ์
ของเล่นเด็กพิเศษต้องไม่แบ่งแยกเพศและไม่เป็นของเล่นที่มีการเล่นตายตัว สื่อไม่แบ่งแยกเพศเด็ก เช่น บล็อก
ดินน้ำมัน แป้งโดว์ จิ๊กซอ
รอยลูกปัด อื่นๆ สื่อที่แบ่งแยกเพศ เช่น
แต่งตัว มีด/ดาบ อื่นๆ
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ ตารางที่ดีต้องเป็นตารางที่เด็กสามารถคาดเดาได้
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์ ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
ใจกว้างต่อคำแนะนำ ฟังหูไว้หู
ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะความสามารถ และเด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการใช้แรงเสริม แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ และควรมองข้ามพฤติกรรมของเด็กในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การลดหรือหยุดแรงเสริม
เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก นำเด็กออกจากกิจกรรมให้เด็กอยู่มุมห้องตามเวลาที่กำหนด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
· ฝึกความอดทนในการดูแลเด็กและการให้แรงเสริมกับเด็ก
· ควรปรับทัศนคติในการมองเด็กในภาพรวมให้เหมือนกัน
· คิดและออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมการวาดมือของตนเอง ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในเอกสารความรู้
เพื่อน : ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม มีการตอบคำถามโต้ตอบ
อาจารย์ : มีความพร้อมในการสอน เตรียมสื่อในการสอนก่อนเรียน
มีการยกตัวอย่างและแนะนำความรู้จากประสบการณ์จริงให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น