วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  30 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.



กิจกรรม
                กิจกรรมในวันนี้ คือ การสอบร้องเพลง  โดยการซุ่มจับฉลากเลขที่และเพลงที่ต้องออกมาร้องสอบหน้าห้อง 1 เพลง จาก 21 เพลง  โดยดิฉันได้เพลง จ้ำจี้ดอกไม้  มีเนื้อเพลง ดังนี้

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กะดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี

                ความรู้สึก ระหว่างออกมาสอบร้องเพลงรู้สึกตื่นเต้นมาก  ระหว่างที่ร้องมีอาการเสียงสั่นเล็กน้อย  พอร้องเสร็จรู้สึกผ่อนคลายเป็นอย่างมากและร้องคลอไปกับเพื่อนคนอื่นๆต่อ 
               
หมายเหตุ    มีตัวช่วยให้เลือก
                                -  ดูเนื้อเพลง หัก 1 คะแนน
                                -  ให้เพื่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
                                -  เปลี่ยนเพลง หัก 0.5 คะแนน
                หลังเสร็จกิจกรรมร้องเพลงอาจารย์แจกรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษาที่มีตัวปั๊มเยอะที่สุด 3 รางวัล

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนมาใช้ในการสอนเด็กในอนาคตการเป็นครูได้  รู้จักจังหวะและเนื้อเพลงที่หลากหลายมากขึ้น  และนำไปใช้ในการสอนขั้นนำในหน่วยต่างๆได้ 

การประเมิน

                ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฝึกซ้อมร้องเพลงทุกเพลงก่อนมาสอบและตั้งใจร้องเพลงในการสอบครั้งนี้
                เพื่อน  :  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ทุกคนตั้งใจฝึกร้องเพลงและมีความกล้าแสดงออกในการออกไปร้องเพลงสอบหน้าห้อง
                อาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ในการสอบอาจารย์ใจดีมีข้อเสนอหือตัวช่วยให้นักศึกษาได้เลือกในการสอบและมีรางวัลให้กับเด็กดีเหมือนเช่นทุกเทอม 



วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิร ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  21 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.



สรุปองค์ความรู้   
                                                                                               
                ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้เล่นเป็นกิจกรรมที่คลายเครียดก่อนเรียน คือ กิจกรรม “ ดิ่งพสุธา ”  และเริ่มเข้าสู่เนื้อหา ดังนี้
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  คือ แผน IEP เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น  เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP เมื่อเขียนเสร็จแล้วต้องนำไปประชุมกับผู้ปกครองก่อนว่าสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ไหม  แผน IEP ส่วนมากจะใช้ในเทอมที่ 2 เพราะครูต้องเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กก่อนจึงจะเขียนได้
IEP ประกอบด้วย
                   ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
                   ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
                   การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
                   เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
                   ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
                   วิธีการประเมินผล
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
                   รายงานทางการแพทย์
                   รายงานการประเมินด้านต่างๆ
                   บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
                   ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง  ( ผู้เข้าร่วมประชุมแผน ประกอบด้วย พ่อแม่ , ครูประจำชั้น , ครูการศึกษาพิเศษ , ผู้บริหาร , ครูที่สอนเสริมต่างๆ )
                   กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
                   กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
                   จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว
                   กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
                   จะสอนใคร
                   พฤติกรรมอะไร
                   เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
                   พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
                   เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
                   นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                   แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
                   จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
                   โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
                   ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

ตัวอย่างแผน IEP

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                ความรู้ในการเขียนแผน IEP เราสามารถนำไปปรับใช้ในการสอนของเราในอนาคตได้  เพราะอนาคตการเป็นครูของเราในวันหน้าเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่านักเรียนของเราจะเป็นแบบไหน  เราไม่สามารถเลือกนักเรียนเองได้เราจึงควรเก็บเกี่ยวความรู้ตรงนี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเราเองในอนาคต  แผน IEP ไม่ได้ยากเลยเพียงแค่เรารู้และทำความเข้าใจกับแผนและเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กอย่างแท้จริงเราก็สามารถเข้าถึงแผน IEP ได้อย่างแท้จริง

การประเมิน

                ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน  จดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในเอกสารความรู้จากที่อาจารย์บอก  วันนี้เป็นการทำกิจกรรมกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการคิดและเขียนแผน IEP อย่างตั้งใจ
                เพื่อน  :  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจฟังและตั้งใจเรียนตามที่อาจารย์สอน  ทุกคนช่วยกันระดมความคิดกันในกลุ่มอย่างตั้งใจ

                อาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนด้วยรอยยิ้ม  อาจารย์มักจะมีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้คลายเครียดก่อนเรียนเสมอ  มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของสื่อการเรียน อาจารย์สอนเนื้อหาการเขียนแผนให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่างง่ายๆและสนุกกับการทำกิจกรรม


วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.



หมายเหตุ   ไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากไปโรงพยาบาล  (มีใบรับรองแพทย์)
                   เรียนรู้เพิ่มเติมจาก  PowerPoint ของอาจารย์

สรุปองค์ความรู้          

     การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
                มีเป้าหมาย  ดังนี้
-     การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-     มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-     เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-     พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-     อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
-     ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-     จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-     เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-     เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-     คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  - ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
      การกรอกน้ำ ตวงน้ำ  ,  ต่อบล็อก  ,  ศิลปะ  .  มุมบ้าน  ,  ช่วยเหลือตนเอง



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ


ความจำ
-     จากการสนทนา
-     เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-      แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-     จำตัวละครในนิทาน
-     จำชื่อครู เพื่อน
-     เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานวิชาการ
-     จัดกลุ่มเด็ก
-     เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-     ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-     ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-     ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-     บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-     รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-     มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-     เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


      ได้รู้จักเด็กพิเศษมากขึ้น  เข้าใจและเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางการเรียน  เข้าใจช่วงความสนใจของเด็ก  การเลียนแบบ  การรับรู้  การใช้กล้ามเนื้อและการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการสำหรับเด็ก  สามารถนำความรู้ในส่วนนี้มาปรับใช้ในการเรียนและการสอนในอนาคตการเป็นครูของเราได้